วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562

หุ่นยนต์

หุ่นยนต์

หุ่นยนต์ คือเครื่องยนต์ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ หรืออาจมีการตั้งค่าให้หุ่นยนต์สามารถตัดสินใจได้เองในระดับใดระดับหนึ่ง การควบคุมระบบต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบากหรืออันตรายเช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบ งานสำรวจในบริเวณที่เกิดภัยพิบัติ หรืองานสำรวจบนผิวของดวงจันทร์หรือดาวเคราะห์ที่ต่างๆ ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว หุ่นยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในหลากหลายด้าน เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต ด้านการแพทย์ ด้านงานสำรวจทั้งในโลกเราและงานสำรวจในอวกาศ หรือด้านการบันเทิง เช่นหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ ปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์มากขึ้นเพื่อผลทางจิตวิทยาในการอาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ในชีวิตประจำวัน  
     
ตัวอย่างเช่น 

หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด


กระทรวงกลาโหมของประเทศไทย ได้ทำการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด คาดว่าใช้จริงในปี 63 เพื่อแทนการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ได้เผยหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดซึ่งกำลังพัฒนาขึ้น พร้อมนำมาทดสอบใช้งานเบื้องต้น เป็นการสร้างความก้าวหน้า ต่อยอดนวัตกรรมรวมทั้งต่อยอดการผลิต เพื่อส่งออกในเชิงอุตสาหกรรม โดยได้มีการต่อยอดความคิดแผนโครงการวิจัยนี้ จากปี 2559 มีการบูรณาการงานทางด้านวิจัย รวมทั้งพัฒนารูปแบบหุ่นยนต์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์กลายมาเป็นหุ่นยนต์ต้นแบบซึ่งนำมาใช้เก็บกู้วัตถุระเบิดได้จริง ในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยทำการสั่งซื้อ หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดมาจากต่างประเทศโดยตลอด คราวนี้เมื่อเกิดการชำรุดหรือถึงช่วงบำรุงรักษา ก็ส่งผลให้เสียค่าบำรุงรักษาเป็นจำนวนมาก เพราะต้องมีการจัดซื้ออะไหล่ รวมทั้งรอช่างจากต่างประเทศ จึงเกิดผลกระทบต่อการดำเนินงานตามมา ทั้งนี้ทาง สทป.คิดว่า ประเทศไทยเองก็มีศักยภาพ ในด้านการทำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มากพอ อันเห็นได้จากผลงานของนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ในยุคปัจจุบันนี้ หุ่นยนต์เป็นเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ซึ่งเข้ามามีบทบาททางด้านความมั่นคง การนำหุ่นยนต์เข้ามาปฏิบัติทำภารกิจเสี่ยงภัย และมีความอันตรายเป็นอย่างสูง อย่างการเก็บกู้และการทำลายวัตถุระเบิด ช่วยทำให้ลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ เป็นเสมือนตัวช่วยซึ่งนำการใช้งานรูปแบบใหม่เข้ามาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ในต่างประเทศ บริษัท Boston dynamics บริษัทผู้พัฒนาหุ่นยนต์ของอเมริกัน ก็ได้แสดงให้เห็นถึงคลิป VDO การตีลังกากลับหลัง ของ Atlas หุ่นยนต์ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์รุ่นล่าสุด โดยทางบริษัทต้องการพัฒนาศักยภาพของมัน เพื่อใช้ในภารกิจการค้นหาและกู้ภัย Atlas เป็นหุ่นยนต์ Humanoid ที่มีความสูง 1.5 เมตร และมีน้ำหนัก 75 กก. ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้ทั้งในช่วงลำตัว ,แขน , ขา โดยใช้ระบบควบคุมซึ่งทำงานอย่างสอดคล้องกัน โดยช่วยให้มันสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพในพื้นที่ขนาดจำกัด รวมทั้งยังสามารถรักษาสมดุลของตัวเองได้ หากเกิดกรณีล้มกระแทก Boston dynamic ได้เผยแพร่ VDO ชุดนี้ทาง Youtube ซึ่งเผยให้เห็นการทำงานของ Atlas มันสามารถกระโดดขึ้น-ลงกล่อง , กระโดดหมุน 180 องศา รวมทั้งตีลังกากลับหลัง เป็นการแสดงให้ประจักษ์ถึงศักยภาพการเคลื่อนที่ของลำตัว ซึ่งมีความล้ำหน้าเมื่อนำมาเทียบกับหุ่นยนต์ชนิดอื่นในปัจจุบัน โดยทางบริษัทมีความตั้งใจจะนำ Atlas ไปใช้งานในภารกิจค้นหาและกู้ภัยอันเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตมนุษย์

                 

หุ่นยนต์ช่วยเดิน สำหรับคนพิการอัมพาตครึ่งล่าง


IRPC ร่วมกับสถาบันสิรินธรฯ และ ม.ศรีปทุม พัฒนาต้นแบบ ชุดหุ่นยนต์ช่วยเดินเพื่อสร้างโอกาสให้คนพิการอัมพาตครึ่งล่างได้ใช้ประโยชน์และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นในอนาคต ด้วยการพัฒนาเม็ดพลาสติกชนิด UHMWPE ที่มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา ทดแทนอลูมิเนียมและเหล็กบางชิ้นส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ โครงการพัฒนาชุดหุ่นยนต์ช่วยเดิน สำหรับคนพิการอัมพาตครึ่งล่างเพื่อต่อยอดสู่การผลิตในเชิงอุตสาหกรรม สร้างโอกาสให้ผู้พิการได้ใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึง
ปัจจุบันความพิการทางการเคลื่อนไหวถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งหุ่นยนต์ช่วยเดินจะเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ ที่จะมาช่วยบรรเทาปัญหาได้ระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากต้นแบบหุ่นยนต์ช่วยเดินในปัจจุบัน ชุดขับเคลื่อนมีขนาดใหญ่ โครงสร้างทำจากอลูมิเนียม ทำให้มีน้ำหนักมากถึง 25 กิโลกรัม ประกอบกับแบตเตอรี่ใช้งานสั้น ไม่เกิน 3 ชั่วโมง ล้วนเป็นอุปสรรคให้ผู้พิการไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ หากการวิจัยและพัฒนาสำเร็จ และต่อยอดไปสู่การผลิตเชิงอุตสาหกรรม ก็จะช่วยให้กลุ่มผู้พิการได้ใช้ประโยชน์และเข้าถึงนวัตกรรมหุ่นยนต์นี้มากขึ้น
ทั้งนี้ IRPC ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติกชนิด UHMWPE (Ultra high molecular weight Polyethylene) ด้วยคุณสมบัติของเม็ดพลาสติกที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ ทนทานต่อการสึกกร่อนเสียดสี รองรับแรงกระแทกได้ดี และน้ำหนักเบา จึงสามารถนำไปผลิตทดแทนชิ้นส่วนเดิมของหุ่นยนต์ช่วยเดินได้
บริษัทฯ มีแนวคิดในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้
ความร่วมมือในครั้งนี้ นับว่าเป็นความท้าทายของการ ได้เรียนรู้ และแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันในทางด้านสาธารณสุข สถาบันการศึกษาและสังคม เพื่อให้คนพิการ ได้รับโอกาสที่เท่าเทียม ในการเข้าถึงนวัตกรรมทางการแพทย์ควบคู่ไปกับนวัตกรรมทางการศึกษา และลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมสอดรับกับการที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 ยุคแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะมาช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นนายสุกฤตย์ กล่าว
ด้าน นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ในฐานะศูนย์วิชาการและศูนย์บริการเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู จะช่วยในเรื่องการประเมินการทดสอบ หุ่นยนต์ช่วยเดินซึ่งถือเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้กับผู้ทุพพลภาพให้มีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยพิจารณาตามหลักการทางชีวกลศาสตร์ ซึ่งนวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยเดิน นอกจากมุ่งเน้นการส่งเสริมศักยภาพของคนพิการช่วงล่างให้สามารถเคลื่อนไหวและพึ่งพาตนเองได้แล้ว ยังสามารถนำไปใช้สำหรับช่วยเพิ่มการทรงตัวและความมั่นคงในขณะเดิน เป็นการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวเรื่องการเดิน และสามารถนำต้นแบบไปพัฒนาต่อยอดในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บสันหลัง ผู้ป่วยเด็กสมองพิการ และผู้ป่วยพาร์กินสัน ซึ่งถือเป็น นวัตกรรมเพื่อการเข้าถึงของคนทั้งมวลอีกด้วย
นางรัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ต้นแบบของนวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยเดินสำหรับคนพิการอัมพาตครึ่งล่างนี้ เกิดจากการคิดค้นของทีมอาจารย์และนักศึกษา กลุ่มระบบหุ่นยนต์และการควบคุมอัตโนมัติ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิคส์ประยุกต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมการออกแบบที่สามารถใช้งานได้จริง ตรงตามมาตรฐานทางการแพทย์ โดยได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ ในการแข่งขันประกวดหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติเพื่อกระบวนการผลิต ปี 2557 (หรือ RACMP 2014) และรางวัลชนะเลิศ นักคิดสิ่งประดิษฐ์รุ่นใหม่ ในวันนักประดิษฐ์แห่งชาติ ปี 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตลอดจนรางวัลในระดับนานาชาติ Honorable Mention Award และ Leading Innovation Award จาก Taipei International Invention Show & Techmart 2015 ณ ประเทศไต้หวัน
นวัตกรรมนี้เกิดจากแรงบันดาลใจของทีมในการช่วยคนพิการอัมพาตครึ่งล่างให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดภาระการพึ่งพา ช่วยให้คนพิการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยอาศัยกลไกการทำงานของหุ่นยนต์อัตโนมัติ ที่ไม่ซับซ้อนมาก ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจที่ต้นแบบของนวัตกรรม จะถูกนำไปต่อยอดวิจัยและพัฒนาให้ดีขึ้น สร้างประโยชน์ต่อสังคม และผู้พิการได้มีโอกาสเข้าถึงนวัตกรรมมากขึ้นในอนาคตเป็นไปตามเป้าหมายของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการผลิตบุคลากรที่มีบทบาทความสามารถ และผลงานวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม




          หุ่นยนต์ช่วยงานบ้าน 

Image result for หุ่นยนต์ช่วยงานบ้าน

บริษัทผลิตหุ่นยนต์แห่งหนึ่งในประเทศจีน พัฒนาหุ่นยนต์ทำงานบ้านเพื่ออำนวยให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้น ไม่ว่าจะช่วยปิดหรือเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือคอยเตือนให้สมาชิกครอบครัวให้ทำบ้านตามมอบหมายหุ่นยนต์นี้ชื่อว่า Big-i รูปร่างหน้าตาเหมือนกับถังขยะเคลื่อนที่ได้แต่ไม่สามารถช่วยนำขยะไปทิ้งแทนคุณได้หุ่นยนต์ Big-i ถูกตั้งโปรแกรมให้เข้าใจคำสั่งที่ซับซ้อน และยังพูดเรื่องตลกขำขันให้ฟังได้ด้วย ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลาง และถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเหมือนสมาชิกในครอบครัว
Tin Lun Lam ซีอีโอของบริษัท NXROBO กล่าวว่า ผู้ใช้เป็นคนตั้งการทำงานของหุ่นยนต์เอง สามารถตั้งโปรแกรมได้ตามความต้องการในการใช้งานของแต่ละคน หุ่นยนต์ Big-i มีซอฟแวร์จดจำใบหน้าและสามารถจดจำชื่อและความชอบส่วนตัวของสมาชิกในครอบครัวเเต่ละคนได้ด้วย เขากล่าวว่าทุกครอบครัวและสภาพเเวดล้อมในเเต่ละบ้านแตกต่างกัน สมาชิกในครอบครัวเเต่ละคนมีความชอบส่วนตัวไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ หุ่นยนต์ Big-i ยังถ่ายภาพได้ด้วย สามารถพยากรณ์สภาพอากาศ และจัดหาสูตรอาหารที่คุณต้องการใช้ เเต่เขาย้ำว่าอย่าสั่งให้หุ่นยนต์ตัวนี้เอาขยะไปทิ้งก็เเล้วกัน เพราะไม่ใช่ถังขยะแม้ว่าหน้าตาจะเหมือนถังขยะก็ตาม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

AS/RS

ระบบ AS/RS      ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ   (Automated Storage/Retrieval System  เรียกโดยย่อว่า  AS/RS)   คือ   การทำงา...